วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พระราชกรณียกิจด้านศิลปะวัฒนธรรม

ทรงตั้งกรมมหรสพขึ้น เพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย
ทรงตั้งโรงละครหลวงขึ้นเพื่อส่งเสริมการแสดงละครในหมู่ข้าราชบริพาร
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกแบบอาคารสมัยใหม่เป็นแบบทรงไทย เช่น ตึกอักษรศาสตร์ ซึ่งเป็นอาคารเรียนหลังแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาคารโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย

พระราชกรณียกิจด้านศาสนา

พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในการเปิดพระราชพิธีเนื่องในวโรกาสต่างๆอาทิเช่น พระราชพิธีบำเพ็ญการกุศล ทรงสนับสนุนให้มีการสร้างศาสนสถาน

พระราชกรณียกิจด้านการกีฬา

เรือใบเป็นกีฬาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเป็นพิเศษ พระองค์ทรงเป็นตัวแทนของประเทศไทยลงแข่งเรือใบในกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 9-16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยทรงเข้าค่ายฝึกซ้อมตามโปรแกรมการฝึกซ้อม และทรงได้รับเบี้ยเลี้ยงในฐานะนักกีฬา เช่นเดียวกับนักกีฬาคนอื่น ๆ ในที่สุด ด้วยพระปรีชาสามารถ พระองค์ทรงชนะเลิศเหรียญทอง และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเหรียญทอง จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ท่ามกลางความปลื้มปีติของพสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศ และเป็นที่ประจักษ์แก่ชนทั่วโลก ทำให้พระอัจฉริยภาพทางกีฬาเรือใบของพระองค์ที่ยอมรับกันทั่วโลก พระองค์ยังได้ทรงออกแบบและประดิษฐ์เรือใบยามว่างออกมาหลายรุ่น พระองค์พระราชทานนามเรือใบประเภทม็อธ (Moth) ที่ทรงสร้างขึ้นว่า เรือใบมด เรือใบซูเปอร์มด และ เรือใบไมโครมด ถึงแม้ว่าเรือใบลำสุดท้ายที่พระองค์ทรงต่อคือ เรือโม้ค (Moke) เมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 เรือใบซูเปอร์มดยังถูกใช้แข่งขันในระดับนานาชาติที่จัดในประเทศไทยหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายคือเมื่อ พ.ศ. 2528 ในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 13

นอกเหนือจากกีฬาเรือใบแล้ว ยังทรงเล่นกีฬาประเภทอื่น ๆ เช่น แบตมินตัน เทนนิส ยิงปืน เป็นต้น

พระราชกรณียกิจด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ


ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ถึง ๒๕๑๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่างๆ ทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ รวม ๒๗ ประเทศ เพื่อเป็นการเจริญพระราชไมตรีกับบรรดามิตรประเทศเหล่านั้นให้มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และเพื่อนำความปรารถนาดีของประชาชนชาวไทยไปมอบให้กับประชาชนในประเทศต่างๆ โดยรายชื่อประเทศต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยือน มีตามลำดับดังนี้

ประเทศเวียดนามใต้ ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๒
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ ๘ - ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๓
สหภาพพม่า ระหว่างวันที่ ๒ - ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ ๑๔ มิถุนายน - ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
ประเทศอังกฤษ ระหว่างวันที่ ๑๙ - ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ระหว่างวันที่ ๒๕ กรกฎาคม - ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
สาธารณรัฐโปรตุเกส ระหว่างวันที่ ๒๒ - ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ ๒๙ - ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
ประเทศเดนมาร์ก ระหว่างวันที่ ๖ - ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๓
ประเทศนอร์เวย์ ระหว่างวันที่ ๑๙ - ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๓
ประเทศสวีเดน ระหว่างวันที่ ๒๓ - ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๓
สาธารณรัฐอิตาลี ระหว่างวันที่ ๒๘ กันยายน - ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
นครรัฐวาติกัน เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
ประเทศเบลเยียม ระหว่างวันที่ ๔ - ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
สาธารณรัฐฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ ๑๑ - ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
ประเทศลักเซมเบิร์ก ระหว่างวันที่ ๑๗ ตุลาคม - ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
ประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ ๒๔ - ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
ประเทศสเปน ระหว่างวันที่ ๓ - ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๓
สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ระหว่างวันที่ ๑๑ - ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๕
สหพันธรัฐมลายา ระหว่างวันที่ ๒๐ - ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕
ประเทศนิวซีแลนด์ ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๕
ประเทศออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ ๒๖ สิงหาคม - ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๕
ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ ๒๗ พฤษภาคม - ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๖
สาธารณรัฐจีน ระหว่างวันที่ ๕ - ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๖
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ระหว่างวันที่ ๙ - ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๖
สาธารณรัฐออสเตรีย ระหว่างวันที่ ๒๙ กันยายน - ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๗
สาธารณรัฐเยอรมัน ระหว่างวันที่ ๒๒ - ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ (เป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนครั้งที่สอง)
สาธารณรัฐออสเตรีย ระหว่างวันที่ ๒๙ กันยายน - ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ (เป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนครั้งที่สอง)
ประเทศอิหร่าน ระหว่างวันที่ ๒๓ - ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๐
สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ ๖ มิถุนายน - ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๐ (เป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนครั้งที่สอง)
ประเทศแคนาดา ระหว่างวันที่ ๒๑ - ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๐
จากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มิได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอีก เพราะทรงเห็นว่าพระราชภารกิจภายในประเทศนั้นมีมากมาย อย่างไรก็ตาม หากประมุขหรือรัฐบาลของประเทศใดกราบบังคมทูลเชิญให้เสด็จฯ ไปเยี่ยมเยือน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระราชโอรส หรือพระราชธิดา เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ เพื่อเจริญสัมพันธไมตรี รวมทั้งเพื่อทอดพระเนตรวิทยาการ และศิลปวัฒนธรรมของชาตินั้นๆ

จนกระทั่งวันที่ ๘ - ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศลาว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ซึ่งนับเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอีกครั้ง หลังจากที่ว่างเว้นมาเป็นเวลานานกว่า ๓๐ ปี

พระราชกรณียกิจด้านการต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น รวมไปถึงการเสด็จพระราชดำเนินออกให้การต้อนรับราชอาคันตุกะจากประเทศต่างๆ ที่เดินทางมาเยือนประเทศไทย ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้บรรดาทูตานุทูตเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสาส์นตราตั้งในการเข้ามารับตำแหน่งในประเทศไทย และถวายบังคมทูลลาเมื่อครบวาระอีกด้วย

พระราชกรณียกิจด้านการเกษตรและการยกระดับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน


การเกษตรนั้นถือได้ว่าเป็นทั้งรากฐานและชีวิตสำหรับประเทศของเรา เพราะคนไทยเราส่วนใหญ่เป็นผู้มีอาชีพทางเกษตรกรรม. ข้าพเจ้าจึงมีความเห็นเสมอมาว่า วิธีการพัฒนาที่เหมาะสมแก่ประเทศเราอย่างยิ่ง ก็คือจะต้องทำนุบำรุงเกษตรกรรมทุกสาขาให้พัฒนาก้าวหน้า เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรทุกระดับให้สูงขึ้น

ด้านการเกษตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนใจด้านนี้ พระองค์ได้เสด็จเยี่ยม ไต่ถามความทุกข์สุขของประชาชน และรับฟังข้อปัญหาเกิดเป็นโครงการตามพระราชดำริต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการชลประทาน การพัฒนาดิน การวิจัยพันธุ์พืชและปศุสัตว์ เป็นต้น